เส้นทางสู่การแต่งเพลง ของ ฉลอง ภู่สว่าง

ครั้งหนึ่งอายุประมาณ 14 ปีเรือเกลือได้ไปจอดค้างคืน ที่ท่าน้ำ วัดแหลมสุวรรณาราม ตำบลท่าฉลอม ในคืนนั้นมีงานวัดครูฉลองจึงได้ไปดูวงดนตรี "คณะบางกอกแมมโบ" ที่มาเล่นที่วัดบ้านแหลมรวมนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมาย สมัยนั้นมีคุณ เอมอร วิเศษสุข คุณสมศรี ม่วงศรเขียว ครู สุรพล สมบัติเจริญ และ คุณเฉลิม (ทหารเรือ) และคุณ สมยศ ทัศนพันธ์ จึงมีโอกาสได้ดูดนตรีครูฉลองเห็นนักดนตรีเป่าแซกโซโฟนรู้สึกทึ่งมีปุ่มกดมากมาย ทำไมคนเรามีเพียง 10 นิ้วจะกดได้หมดเป็นความใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็ก ๆ จึงเกิดแรงบันดาลใจอยากจะได้สวมสูทและยืนเป่าเครื่องดนตรีกลับมาบ้านจึงได้ฝึกหัดสีซอกับลุงเติมครูฉลองมีโอกาสหยิบแซกโซโฟนมาทดลองเป่าเมื่อมีโอกาสครูฉลองร้องเพลงได้ดีเมื่อมีการประกวดร้องเพลงที่ไหนก็ขึ้นประกวดไปทั่วได้ที่ 1 บ้างไม่ได้บ้างก็ดิ้นรนใฝ่ฝันไปเรื่อย ๆ จนครบเกณฑ์ทหารก็ได้ไปรับใช้ชาติ 2 ปี ครูฉลองมีโอกาสไปเป็นทหารเรือทำการฝึก 2 เดือนจึงย้ายเหล่า เนื่องจากความรักในดนตรีเป็นชีวิตจิตใจจึงมีโอกาสไปอยู่วงดนตรี ทหารเรือ เริ่มฝึกเป่าแซกโซโฟนและได้เรียนโน้ตเพลงที่นี่ทำให้มีความสามารถและมีประการณ์มากขึ้นสามารถร้องเพลงแต่งเพลงและเล่นดนตรีได้บ้างพอสมควรเป็นทหารนาน 2 ปี 1 เดือนกว่า ๆ ก็ปลดประจำการกองพันที่ 6 กองทัพอากาศชักชวนให้ไปอยู่เพราะเห็นความสามารถของครูฉลองโดยมีคนบอกว่าฝึก 6 เดือนจะติดยศจ่าให้เมื่อออกจากทหารแล้วก็ไปสมัครอยู่กับคณะรำวงดาราน้อยที่ ชลบุรี ตอนนั้นครูฉลองสนใจรำวงติดสาวรำวงที่ชลบุรีครูฉลองเล่นดนตรีร้องเพลงมีรายได้คืนละ 200 - 300 บาทมีนักร้องร่วมรุ่นดังหลายคนสมัยนั้นคือ บุปผา สายชล , เรียม ดาราน้อย , พนม นพพร , บรรจบ เจริญพร จนในที่สุดเหลือครูฉลอง ภู่สว่างอยู่คนเดียวอยู่กับคณะรำวงได้ 5 ปี ก็กลับมาบ้านที่บางโทรัดทำงานอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็ไปอยู่กับวงดนตรี พนม นพพร และวงดนตรีของ บุปผา สายชลต่อมาครูฉลองแต่งงานและมีลูก 2 คนจึงเปลี่ยนอาชีพเป็นพายเรือค้าขายแต่กิจการไม่ดีมีหนี้สินมากขายเรือไปได้เงินมาหมื่นกว่าบาท แบ่งเงินไปซื้อแซกโซโฟนมา 1 ตัวราคาสองพันบาทมาเป่าชาวบ้านใกล้เรือนเคียงหนวกหูเริ่มหัดแต่งเพลงถึงตีหนึ่งตีสองไม่ได้หลับไม่ได้นอนภรรยาก็บ่นว่าเขียนไปทำไมเขียนแล้วจะเอาไปให้ใครครูฉลองหวังลึก ๆ ว่าสักวันหนึ่งต้องทำให้ได้ครูฉลองได้ออกตระเวนเล่นดนตรีเคยเป็นนักดนตรีประจำ กองดุริยางค์ทหารเรือ เป็นกองเชียร์รำวง และเล่นวงดนตรีกับ วงดนตรีจุฬารัตน์ ของครูมงคล อมาตยกุล วงของศรีไพร ใจพระ , บุปผา สายชล ,บรรจบ เจริญพร จึงตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเองครูฉลองเขียนเพลงจริงจัง เมื่ออายุ 21 ปี เพลงแรกที่อัดแผ่นเสียงก็ดังเลยชื่อเพลง "ลาก่อนความโกหก" ร้องโดยนักร้องชื่อบุญมี (ต่อมาเปลี่ยนเป็นระพิน ภูไท) และได้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุได้รับความนิยมพอสมควรจากนั้นก้ได้เริ่มแต่งเพลงต่างๆ ขึ้นมาอีกมากมายหลายเพลงเขียนให้ ระพิน ภูไท ร้อง 10 กว่าเพลง ซึ่งเพลงเหล่านี้ดังเกือบหมดทุกเพลง เช่น

  • เพลง " ปีวอกหลอกพี่"
  • เพลง " คิดถึงแหม่ม"
  • เพลง " เอาคำว่ารักของเธอคืนไป"
  • เพลง "สระบุรีร้องไห้"
  • เพลง "คุณนายร้องไห้"
  • เพลง "คนจนเป็นอย่างไร"
  • เพลง "เรณูอยู่ไหน"
  • เพลง "ฝนพร่ำที่อัมพวา"
  • เพลง "คิดถึงพี่หน่อย"

ต่อมาครูฉลอง ภู่สว่าง ได้แต่งเพลง "เจ้าสินอนกอดไผ" "ไก่นาตาฟาง" ขับร้องโดย มานะ (จีระพันธ์ วีระพงษ์ เป็นนักร้องมาจากอำเภอบางซ้าย) เมื่อก่อนนี้มานะเคยอยู่ วงจุฬารัตน์ วง เสน่ห์ โกมารชุน มีนักร้อง ปัทมา สังข์ทอง , ศรีไพร ใจพระ , บรรจบ เจริญพร , ชาตรี ศรีชล , เรียม ดาราน้อย , ภูษิต ภู่สว่าง , ศรชัย เมฆวิเชียร , คัมภีร์ แสงทอง ระพิน ภูไท เสกศักดิ์ ภู่กันทอง (เพลงขันหมากเศรษฐี) ชายธง ทรงพล จากสิงห์บุรี (เพลงปูไข่ไก่หลง)

และได้แต่งเพลงอื่นๆขึ้นมาอีกมากมายหลายเพลง เช่น

เพลงประกอบภาพยนตร์ เช่น

แต่งให้กับสุนารี ราชสีมา 12 เพลงรวมผลงานเพลงที่แต่งไป ไม่น้อยกว่า 200 เพลง